มาทำความรู้จัก ผ้ายีนส์ Denim กันเถอะ
เชื่อว่าหลายท่านคงมีคำถามและอยากรู้ว่า ผ้ายีนส์ คืออะไร แล้วมันมีประวัติความเป็นมายังไง มาดูกัน
ผ้ายีนส์ เดนิม มีทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกันคือ
1. ผ้ายีนส์ดิบ (RAW DENIM OR DRY DENIM)
2. ผ้ายีนส์ฟอก (WASHED DENIM)
3. ผ้ายีนส์คอตตอน100% (100% COTTON DENIM )
4. ผ้ายีนส์ยืด (STRETCH DENIM)
5. ผ้ายีนส์ริม (SELVEDGE DENIM) ผ้าแข็ง
6. ผ้ายีนส์ไม่ริม (NON-SELVEDGE DENIM)
ผ้ายีนส์ขนานแท้เป็นผ้าฝ้ายลายสอง
ใช้สำหรับตัดเย็บเสื้อผ้าใส่ทำงานที่ต้องการความทนทาน
ผ้ายีนส์ทั่วไปทอจากเมืองเจนัว (Genoa) ประเทศอิตาลี
แต่ช่างทอผ้าชาวฝรั่งเศสเรียกเมืองนี้ว่า แชน(Genes) อันเป็นที่มาของคำว่า ยีนส์ นั่นเอง
คอร์สเรียน ดัดแปลงแพทเทิร์นจากเสื้อให้เป็นเดรสผ่าหน้า กับครูคำมาร์ค
ยีนส์มีต้นกำเนิดมาหลายร้อยปีแล้ว
ชาวต่างชาติ เรียกยีนส์ว่า บลูยีนส์ (Blue Jeans) เพราะยีนส์มีสีโทนน้ำเงินมาแต่กำเนิด
ไม่ได้มีสีต่าง ๆ ให้เลือกเหมือนอย่างในปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของผ้ายีนส์นั้นดำเนินควบคู่มากับประวัติของช่างเสื้อวัย ๑๗ ปี
ที่ชื่อ ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss)
ซึ่งอพยพมาอยู่ที่เมือง ซาน ฟรานซิสโก
ในยุคเฟื่องฟูของเหมืองทอง ราวทศวรรษที่ ๒๓๙๓–๒๔๐๓
แต่แทนที่เขาจะร่วมเสี่ยงโชคขุดทอง
ดังวัตถุประสงค์ของผู้คนทั้งหลายที่หลั่งไหลเข้า ชาน ฟรานซิสโก
ด้วยสายตานักธุรกิจที่กว้างไกลเขา กลับนำผ้าใบมาขาย
ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดในช่วงยุคนั้นมาก
นักขุดทองพากันซื้อผ้าใบ มาใช้เป็นเต็นท์และใช้คลุมรถ
ความฉลาดเฉลียวของพ่อหนุ่มคนนี้ยังมองเห็นช่องทางอื่นอีก
เขารู้ว่าคนที่ทำงานในเหมืองต้องการกางเกงที่เหมาะกับลักษณะงานลุยมาก
เขาจึงนำผ้าใบซึ่งทนต่องานหนัก ๆ ได้ดีมาใช้ตัดเย็บเสื้อกางเกง
หลังจากนั้นได้เปลี่ยนจากผ้าใบ
มาใช้ผ้าฝ้ายที่มีเนื้อนุ่มกว่า เป็นผ้าที่ทอจากเมือง นีม ประเทศฝรั่งเศส
ชาวยุโรปเรียกผ้าชนิดนี้ว่า แซร์จ เดอ นีม (Serge de nimes)
แต่คน อเมริกันเรียกเป็น เดนิม (denim)
นายสเตราส์ยังค้นพบด้วยว่า สีของผ้าเดนิมซึ่งเป็นสีฟ้าครามช่วยปิดบังรอยเปื้อนดินได้ดี
ดังนั้นสินค้าปรับปรุงใหม่ของเขาจึงขายดิบขายดีไม่ยิ่งหย่อนกว่าเก่า
พวกคาวบอยซึ่งต้องการกางเกงที่กระชับจะใช้วิธีใส่กางเกงแล้วลงไปแช่ในราง ซึ่งใส่น้ำไว้ให้ม้ากิน
จากนั้นจึงลุกมานอนตากแดดให้ผ้าเดนิมหดเข้ารูป
ถึงผ้าเดนิมจะขาดยาก
แต่ลูกค้าคนงานในเหมืองก็ยังติว่า ฝีเย็บกระเป๋ามักจะแตกเพราะต้องใส่เครื่องมือหนัก ๆ
แต่หมุดทองแดงก็ก่อปัญหาใหม่ขึ้น เวลานั่งผิงไฟยามค่ำคืนหมุดทองแดงจะร้อนและไหม้ผิว
การใช้หมุดทองแดงจึงต้องเลิกราไป
ส่วนหมุดที่กระเป๋าใช้กันอยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๐
จึงเลิกไปด้วยเหตุผลคนละอย่าง
กล่าวคือ สมัยนั้นเด็ก ๆ ใส่ชุดยีนส์ไปโรงเรียน หมุดที่กระเป๋าหลังจึงขูดขีดโต๊ะเก้าอี้ไม้เป็นรอย ต้องซ่อมแซมกันเป็นการใหญ่
ยีนส์ปรากฏหลักฐานการเข้าสู่วงการแฟชั่นในปี ๒๔๗๘ ด้วยการลงโฆษณาในหนังสือโว้ค
เป็นภาพผู้หญิงที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงสังคมสองคนสวมยีนส์ทรงคับ
ดึงแนวโน้มแฟชั่นให้เป็น ‘เท่แบบตะวันตก’
แต่ความคลั่งไคล้ในช่วงนั้นยังไม่อาจเทียบกับช่วงทศวรรษที่ พ.ศ. ๒๕๑๓–๒๕๒๓
ซึ่งมีการประชันขันแข่งการออกแบบชุดยีนส์กันอย่างเข้มข้น
กางเกงยีนส์จึงเปลี่ยนหน้าที่จากการรับใช้งานหนักมาเป็นกางเกงสำหรับใส่ เล่น
จนถึงกับทำให้เกิดอุตสาหกรรมมูลค่าหลายพันล้าน และจึงเกิดแบรนด์ยีนส์ดังขึ้นใหม่หลายแบรนด์
ปัจจุบันยีนส์ขยายแบรนด์ใหม่ๆออกมาอย่างกว้างขวาง
และ มีคุณลักษณะพิเศษของเนื้อผ้ายีนส์ในแต่ละแบรนด์อีกด้วย
นอกจากนี้ยีนส์ยังมีการพัฒนาคิดค้น ออกแบบใหม่ๆ
ออกมาเพื่อตอบโจทย์และตอบสนองคนรักยีนส์มากขี้นอีกด้วย
jean's Denim
มาทำความรู้จักกันก่อนเลยสำหรับประเภทผ้ายีนส์ ทั้ง 6 ชนิด
1. ผ้ายีนส์ดิบ (RAW DENIM OR DRY DENIM)
ผ้ายีนส์ดิบ (RAW DENIM OR DRY DENIM)
“Raw Denim” หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า “ผ้าดิบ Raw Denim” คือผ้ายีนส์ที่ไม่ได้เคยผ่านน้ำ ผ่านการฟอกใดๆ กล่าวคือ เส้นด้ายผ่านการย้อมคราม (Indigo) แล้วนำมาถักทอเป็นผ้ายีนส์เลย ซึ่งจะทำให้ได้สีกางเกงเป็นสีน้ำเงินเข้มแบบดั้งเดิมสวยงาม
.
ความพิเศษของก็คือ Raw Denim คือ เมื่อใส่ไประยะหนึ่งแล้ว สีที่ย้อมบนตัวผ้าจะค่อยๆ หลุดออกไปเรื่อยๆ ตามกิจกรรมที่เราทำขณะสวมใส่ ทำให้เกิดริ้วรอยหรือเรียกกันว่า “Fade”
.
นักปั้นเฟดจะรู้ดีว่า ยิ่งใส่บ่อย ยิ่งใส่นาน ริ้วรอยก็จะยิ่งชัดขึ้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้สวมใส่ เพราะฉะนั้นแม้จะเป็นกางเกงยีนส์รุ่นเดียวกัน แบบเดียวกัน แต่สำหรับบางคน Fade ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของกางเกงยีนส์เลยก็ได้
รุ่นที่ใช้ผ้าพวกนี้ คือ Thin finn dry twill , Thin finn dry ecru embo , Grim tim dry navy , Lean Dean dry iron เป็นต้น1.2 ผ้า Dry ที่ผ่านน้ำมาแล้ว เป็นผ้าที่ผ่านการแช่น้ำมาจากโรงงานแล้ว เนื้อผ้าจะนุ่ม ใส่สบาย และยืดมากกว่าผ้า dry ปกติ
วิธีสังเกตุ รุ่นที่ใช้ผ้าพวกนี้ ในชื่อรุ่นจะมีคำว่า Rinsed ต่อท้ายเสมอ เช่น รุ่น TLJ twill rinsed , Tube tom twill rinsed เป็นต้น
2. ผ้ายีนส์ฟอก (WASHED DENIM)
ผ้ายีนส์ฟอก (WASHED DENIM)
“ยีนส์ผ้าฟอก” เป็นอีกหนึ่งยีนส์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันสูงมาก เนื่องจากสวมใส่สบายเหมาะกับทุกโอกาส พร้อมใส่
.
“ผ้าฟอก” คือ ผ้ายีนส์ที่ผ่านกระบวนการทำให้ซีด มีรอยขาด หรือปะ (patchwork) ตั้งแต่เราซื้อมามือหนึ่ง ซึ่งกรรมวิธีมีทั้งใช้สารกัดสีบ้าง ปั่นกับหินบ้าง (stone washed) จึงทำให้กางเกงยีนส์ผ้าฟอกสวยแบบพร้อม ใส่ไม่ต้องเสียเวลาปั้น
.
และริ้วรอยต่างๆ ก็เหมือนผ่านการสวมใส่จริง อาจจะไม่เหมือน 100% แต่ก็ยังเป็นการฟอกที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งบางทีเราก็ไม่ได้ไม่สามารถปั้นเฟดได้ให้เหมือนกับผ้าฟอก นั้นคือคำตอบว่าทำไมผ้าฟอกจึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
ที่เด่นๆจะเป็นตระกูล Replica ฟอกสวยและราคาสูง
3. ผ้ายีนส์คอตตอน100% (100% COTTON DENIM )
ผ้ายีนส์คอตตอน100% (100% COTTON DENIM )
หากเมื่อย้อนไปในยุคสมัย ปี ‘80-‘90 ในยุคที่ Levi’s ยังครองเมือง ผ้าคอตตอน 100% นั้นถือเป็นกางเกงยีนส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะถูกสวมใส่โดยดาราที่มีชื่อเสียงมากมาย
.
และถ้าหากให้ลองนึกภาพตาม ก็คงเป็นยุคที่ผู้ชายใส่ยีนส์ Levi’s เอวสูง พร้อมทรงผมแบบ “เอลวิสและหวีคู่ใจ” นั่นแหละคือยุคสมัยของผ้ายีนส์คอตตอน 100 % อย่างแท้จริง ส่วนในปัจจุบันผ้าคอตตอนไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไหร่นัก เพราะด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หรือว่าอาจจะเป็นเพราะสภาพอากาศก็ตาม
.
ซึ่งยีนส์คอตตอน 100% อาจจะมาในรูปแบบผ้าดิบหรือผ้าฟอกก็ได้ ข้อเสียของผ้าคอตตอน 100% นั่นก็คือ ด้วยความแข็งของผ้าจะทำให้มีทรงที่ค่อนข้างใหญ่ และจะไม่เข้ารูป แต่คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องความคงทน เพราะกางเกงยีนส์ผ้าคอตตอน 100% จะขาดยากมากๆ เมื่อเทียบกับผ้ายืด
4. ผ้ายีนส์ยืด (STRETCH DENIM)
ผ้ายีนส์ยืด (STRETCH DENIM)
ถ้าให้ตอบว่ายีนส์ผ้าแบบไหนที่ใส่สบายที่สุดและถูกใจขาร็อคหรือคนที่ชอบใส่กางเกงยีนส์สกินนี่ คงไม่พ้นกางเกง “ยีนส์ผ้ายืด” ซึ่งยีนส์ผ้ายืดอาจจะมาในรูปแบบ “ผ้าดิบ” หรือ “ผ้าฟอก” ก็ได้ ข้อดีของผ้ายืด คือ ทำให้เราสวมใส่กางเกงได้สบาย ไม่อึดอัด และลดไซส์ได้เยอะขึ้น
.
แม้ว่าหลายๆ แบรนด์จะทำยีนส์ผ้ายืดออกมาขายอย่างมากมาย แต่ว่าผ้ายืดเองก็มีข้อเสียหลักๆเลย คือ ทรงจะเข้ารูป ทรงเล็กกว่าผ้าคอตตอน 100% และเป็นผ้าที่ค่อนข้างขาดง่าย หากผู้สวมใส่ดูแลรักษาไม่ดี หรือว่าไม่ระมัดระวังในการสวมใส่
.
แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้กางเกงยีนส์ผ้ายืด สามารถยืดได้มากยิ่งขึ้นและทนทานมากขึ้นไปอีก นั่นจึงเป็นคำตอบที่ว่า ทำไมยีนส์ผ้ายืดในปัจจุบันจึงได้รับความนิยมอย่างสูง
4. ผ้ายีนส์ยืด (STRETCH DENIM)
ผ้ายีนส์ริม (SELVEDGE DENIM) ผ้าแข็ง
“ผ้ายีนส์ริม” มาจากคำว่า “selvedge” แผลงมาจาก คำว่า “self-edge” ซึ่งริมที่เห็นๆ กันอยู่ คือการเย็บหัวผ้าด้วยด้ายสีต่างๆ ขอบของผ้าโดยสีของริมจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิตยีนส์ อาจจะเป็นสีแดง หรือที่เราเรียกติดปากกันว่าริมแดง และอาจจะเป็นสีอื่นๆ เช่น ส้ม ขาว น้ำเงินก็ได้
.
คำว่า “Selvedge” (สะกดได้ 2 แบบ selvage หรือ selvedge) จริงๆ แล้วมีที่มาจากคำว่า “self-edge” โดยผ้าริมจะสามารถทอได้ด้วยเครื่องทอผ้าแบบเก่า ที่เรียกว่า “Shuttle loom” ซึ่งให้ขนาดของหน้าผ้าที่แคบกว่าการทอโดยใช้เครื่องทอรุ่นใหม่ และทอได้ช้ากว่า เนื่องจากต้องใช้แรงงานคนในการทอหรือควบคุมการทอ
.
เครื่องทอแบบเก่านั้นถูกใช้เพื่อผลิตผ้าเดนิมสำหรับทำกางเกงยีนส์ในอเมริกา แต่เมื่ออุตสาหกรรมยีนส์ได้เติบโตขึ้น มีความต้องการของผู้บริโภคที่สูงมากขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องทอผ้าแบบดั้งเดิม (Shutter Looms) ไปใช้ เครื่องจักรที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองการผลิตแบบ mass ทำให้สามารถทอผ้าได้เร็วกว่า รวมถึงหน้าผ้าก็กว้างกว่ามาก
.
ซึ่งผ้าริมนั้น จะสังเกตได้ง่ายๆที่ตะเข็บด้านนอกของกางเกงยีนส์ และมักจะมีคำว่า selvage ต่อท้ายชื่อของกางเกงรุ่นนั้นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกซื้อ
4. ผ้ายีนส์ยืด (STRETCH DENIM)
ผ้ายีนส์ไม่ริม (NON-SELVEDGE DENIM)
“ผ้าไม่ริม” (non-selvage) เป็นผ้ายีนส์ที่ทอได้จากเครื่องทอแบบใหม่ หรือ เครื่องจักรในอุตสาหรกรรมแบบใหม่ ที่เน้นปริมาณ ความรวดเร็ว และเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
.
ผ้าที่ได้จากเครื่องทอแบบใหม่ จะหน้ากว้างกว่าแต่ไม่มีขอบ จะรุ่ย จึงต้องเย็บเก็บขอบ เหมือนที่เห็นในผ้าทั่วไป ซึ่งจะมีความพิถิพิถัน และความงามตาจึงสวยน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผ้าริม
เมื่อรู้จักชนิดของผ้ายีนส์แล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้
นั่นคือตัวที่ช่วยทำให้ผ้ายีนส์ประกอบร่างเข้าหากัน
จักรเย็บผ้าสมัยใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อน ผ้ายีนส์ โดยเฉพาะ
นั่นก็คือ จักรเย็บผ้ากระเป๋าหิ้ว Singer Denim
และอีกสิ่งสำคัญหากต้องทำงานเกี่ยวกับผ้ายีนส์
อย่าลืมเปลี่ยนเข็มเย็บผ้ายีนส์ให้เข้ากับเนื้อผ้าชิ้นงานเพื่อความสวยงามเนี๊ยบด้วยนะคะ