เย็บแล้วด้ายขาดบ่อย!?

ปัญหาด้ายขาดบ่อยๆ เป็นอีกปัญหาหนึ่งสำหรับนักเย็บทุกท่าน ไม่ว่าจะมือใหม่ หรือมือเก่าแค่ไหนก็เกิดขึ้นได้ แต่มือเก๋าประสบการณ์อาจจะมากกว่าการแก้ไขปัญหาเลยง่าย เป็นไปอย่างอัตโนมัติ แต่สำหรับมือใหม่แนะนำให้ลองเช็คทีละอย่าง ทีละขั้นตอนดูก่อนนะคะ เจอปัญหาตรงจุดไหนให้แก้จุดนั้นก่อนเลย สาเหตุและการแก้ไข 1. เช็คหลอดด้ายบน หลอดด้ายทั่วไป มักจะมีรอยบากเพื่อล็อกด้ายไว้ หากใส่หลอดด้ายหันรอยบากลงด้านล่าง(กรณีแกนหลอดด้ายเป็นแนวตั้ง) หรือรอยบากหันไปทางด้านนอก (กรณีแกนหลอดด้ายเป็นแนวนอน) จะทำให้มีด้ายไปติดตรงรอยบาก จนด้ายรั้งทำให้ขาดได้ค่ะ แก้ไขโดยใส่หลอดด้ายใหม่ให้รอยบากไปอยู่ในทิศตรงกันข้ามที่แจ้งไว้ด้านบนนะคะ 2. ทางเดินด้ายบนสะดุด มีปมด้าย หรือมีด้ายพันที่จุดใดจุดหนึ่ง เช็คการร้อยด้าบบนทุกจุดที่ด้ายร้อยผ่านว่ามีปมด้าย หรือด้ายไปพันตรงจัดไหนจนทำให้ด้ายตึงรั้งและขาด เมื่อเจอะแล้วก็แก้ไขได้ง่ายๆ ค่ะ คือร้อยด้ายบนใหม่อีกทีนึงนะคะ 😀 นกจะแปะลิ้งค์การร้อยด้ายบนสำหรับมือใหม่อีกทีนะคะ มือเก่าเล็กๆ ที่ดูบ่อยทำคล่องแล้วข้ามไปได้เลยค่ะ 😀 ปล. จักรเย็บผ้าทุกรุ่นร้อยด้ายบนล่างเหมือนกันต่างกันเฉพาะการสนเข็มค่ะ จักรรุ่นที่ไม่มีที่สนเข็มอย่าง JV1400 ต้องสนมือแทนนะคะ 🙂 https://www.youtube.com/watch?v=Ug8Vh8hBHfw&t=4s 3. ความตึงด้ายเยอะเกินไป / ด้ายเปื่อย ความตึงด้ายที่มากเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่งเหมือนกันค่ะ แต่หากลองปรับลดแล้วก็ยังเป็นเช็คเส้นด้ายค่ะว่าเปื่อยหรือเปล่า… ด้ายเย็บบางหลอดก็เก่าเก็บมากกกก นอกจากจะเป็นสต๊อกที่โรงงานแล้ว สต๊อกที่โกดัง สต๊อกที่ร้านค้า กว่าจะถึงมือเราอาจะจะผ่านมาหลายเพลา แล้วเราก็เก็บเค้าไว้…จนได้จับจักรครั้งถึงจะใช้ครั้ง แน่นอนค่ะ…ของทุกอย่างย่อมมีวันผุพัง ด้ายเย็บก็เช่นกัน […]
เย็บไม่ไปด้ายเป็นกระจุกอยู่ด้านล่าง แก้ไขยังไงดี!?

ปัญหา ด้ายกระจุดอยู่ด้านล่าง เย็บก็ไม่ไป ดึงผ้าก็ไม่ออก บางครั้งเข็มก็หักด้วย T^T” … เป็นปัญหาที่มือใหม่หัดใช้จักร หัดเย็บผ้าทุกคนต้องตกใจ (เคยเจอครั้งแรกก็แบบนี้ค่ะ…เป็นอาการปกติ)วิธีการแก้ปัญหาก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร จริงๆ นะ ใช้กรรไกรเล็กเล็มด้ายแล้วดึงผ้าขึ้น หรือหากผ้าจมลงไปก็หมุนน๊อตเปิดแผ่นเหล็กเพื่อเอาผ้าออกค่ะ คำอธิบายไม่ดีเท่าทำให้ดู แนะนำให้กดดูคลิปนะคะ ^-^ ปล. ในคลิปนกข้ามวิธีการทำความสะอาดเบ้ากระสวยไป กดดูได้ที่คลิปถัดไปด้านล่างนะคะ หากทำเป็นแล้วก็ผ่านได้เลยค่ะ https://youtu.be/wsrci8S1m9Y หลังจากเอาผ้าออกมาได้แล้วก็ทำความสะอาดเบ้ากระสวยให้เรียบร้อยก่อนนะคะปล. จักรรุ่นสาธิตเป็นรุ่น NV950 ซึ่งเย็บได้ปักได้ โดยการทำความสะอาดจักรทุกรุ่นทำตามคลิปนี้ได้เลยนะคะ https://www.youtube.com/watch?v=wSa5kG7T8uU เสร็จแล้วก็ร้อยด้ายบน-ล่างให้ถูกต้อง จากนั้นก็เย็บต่อได้เลยน๊าา ***กรณีเข็มหัก ให้เปลี่ยนเข็มก่อนนะคะ*** ปล. จักรทุกรุ่นการร้อยด้ายบนจะไม่ต่างกัน ที่ต่างกันคือการสนเข็มด้วยที่สนเข็มเท่านั้นค่ะ จักรรุ่นสาธิตเป็น GS3700P ไม่ต้องกังวลนะคะ ใช้วิธีการเดียวกันได้เลย https://www.youtube.com/watch?v=Ug8Vh8hBHfw&t=4s Share on facebook Facebook Share on google Google+ Share on twitter Twitter Share on linkedin […]
ปรับยังไง!? เมื่อรังดุมทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน!

รังดุมทำออกมาไม่สวยก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาระดับชาติ ในชาตินี้ของคนที่รักงานเย็บ นกเลยทำวิธีแก้ปัญหาจุดนี้ให้ค่ะ โดยจุดที่แก้ปัญหานี้ได้คือจุดที่อยู่ด้านหลังจักร เป็นจุดที่ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สกรูปรับความถี่ของรังดุม” เราเรียกง่ายๆ ว่าที่ปรับรังดุมก็พอเนอะ ^^” ปล. รุ่น JV1400/JV1410 ที่ปรับรังดุมจะอยู่ด้านหน้าจักร รุ่น GS2700/GS3700P จะอยู่ด้านหลังจักรนาจา ถ้าดูในคู่มือก็จะ งง นิด เพราะเค้าจะให้ดูแค่รังดุมฝั่งซ้ายเป็นหลัก แต่นกให้ดูคู่เทียบตามรูปนะคะ ปล.อีกที ที่ปรับรังดุมมีเฉพาะจักรเย็บผ้า Brother รุ่นแมคคานิกนะคะ รุ่นที่เป็นระบบคอมเค้าปรับมาให้ในตัวอยู่แล้ว อ่านข้ามไปได้เลย!! ตัวอย่าง ***ข้างซ้ายถี่ ข้างขวาห่าง ก็ให้ปรับหมุนไปทาง + ขวาก็จะถี่ขึ้น***หากซ้ายห่างแต่ขวาถี่ก็ให้ปรับไปทาง – ด้านซ้ายก็จะห่างขึ้นนะคะ ติดขัดตรงไหน หรือยังมีข้อส่งสัย เม้นต์ถามกันได้นะคะ ยินดีช่วยเหลือทุกท่านค่ะ Share on facebook Facebook Share on google Google+ Share on twitter Twitter Share on linkedin LinkedIn
ใช้ที่สนเข็มอัตโนมัติไม่ได้ เพราะอะไร แก้ไขได้อย่างไรบ้าง

ทำไมถึงสนเข็มอัตโนมัติไม่ได้!? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่มีลูกค้าสอบถามนกเข้ามามาก โดยสาเหคุก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การแก้ไขก็แตกต่างกันออกไป โดยทำได้ดังนี้นะคะ ปล. คลิปนี้ถ่ายไว้นานแล้ว โดยใช้รุ่น GS2700 เป็นโมเดลค่ะ แต่วิธีการแก้ไขก็สามารถใช้ร่วมกับรุ่นอื่นๆ ได้ค่ะ 1. สนเข็มไม่ถูกวิธี แคงต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินค่ะ ว่า…ต้องร้อยด้ายให้ถูกวิธี ^^” จักรแต่ละตัวที่มีที่สนเข็มอัตโนมัติ จะมีตำแหน่งเข็มสำหรับสนเข็มอยู่ โดยสังเกตจากวงล้อด้านข้างต้องตรงขีดข้างของจักร (ดูคลิปเพิ่มเติม) ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งสนเข็มค่ะ ระบบคอมพิวเตอร์ก๋เหมือนกัน แต่จะต่างกันที่รุบบคอมมีปุ่มยกเข็มขึ้น-ลง ที่หน้าเครื่องอยู่แล้ว เพียงแต่เราเลือกกดให้เข็มยกขึ้น เข็มก็อยู่ในตำแหน่งสนเข็มแล้วค่ะ https://youtu.be/owf1Zy9A3pc 2. ที่สนเข็มชำรุด หากเราสนเข็มโดยตำแน่งเข็มไม่ถูกต้อง บ่อยๆ เข้า ตะขอเกี่ยวด้ายเล็กๆ ที่อยู่ในที่สนเข็มจะชนเข็มจนงอค่ะ พอตะของอเวลาสนเข็มตะขอตัวนี้จะลอดผ่านรูเข็มไม่ได้ ทำให้เกี่ยวด้ายไม่ผ่านรูเข็ม จะถามต่อว่า ดัดเองได้ไหม แค่ตะขอเบี้ยว ดัดได้ค่ะ แต่ต้องเบามือนิดนึงนะคะ เค้าค่อนข้างบอบบางจะหักเอา กรณีที่ตะขอในที่สนเข็มหักไปแล้ว ตรงจุดนี้ซ่อมไม่ได้แล้วจร้าาา ต้องเปลี่ยนที่สนเข็มอย่างเดียวเลย และนกได้ถ่ายคลิปวิธีเปลี่ยนให้แล้ว กดดูได้ที่คลิปด้านล่างนี้นะคะ ปล. อะไหล่ที่สนเข็มมีจำหน่ายค่ะ สอบถามได้ที่เพจในเครือ PINN SHOP ได้ทุกเพจนะคะ นกถ่ายคลิปด้วยมือถือ […]
วิธีทำความสะอาดเบ้ากระสวย

เบ้ากระสวยจักรมีผลมากมายต่อการเย็บ ไม่ว่าจะความตึงด้าย ไม่ว่าจะเย็บแล้วด้ายกระโดด ฉะนั้นเราควรเปิดทำความสะอาดเบ้ากระสวยเป็นประจำ เพื่องานเย็บที่ราบรื่น และตะเข็บเย็บที่สวยงามของเรากันนะคะ โดยคลิปวิดีโอที่ใช้สาธิต จะเป็นจักรเย็บและปักได้รุ่น NV950 ค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจไปน๊าจักรทุกรุ่นใช้วิธีเดียวกันนี้ได้เลยนะคะ https://www.youtube.com/watch?v=wSa5kG7T8uU Share on facebook Facebook Share on google Google+ Share on twitter Twitter Share on linkedin LinkedIn
แก้ไขยังไงเมื่อเย็บลายจักรแล้วไม่เหมือนในคู่มือ

ลายเย็บบนตัวจักร ต้องปรับต้องตั้งค่ายังไงลายเย็บถึงจะออกมาสวย คำตอบก็คือต้องตั้งค่าให้เหมาะสม ทั้งความถี่-ห่าง ทั้งความกว้าง-แคบ แม้กระทั่งความตึงด้ายและความหนาของผ้าที่ใช้ก็มีส่วนค่ะ นกเลยหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเขียนให้ได้อ่านกัน เพราะมือใหม่หัดเย็บจักรหลายท่านยังปรับไม่ค่อยเป็น โดยนกจะหยิบเอาคู่มือจักรมาใช้ประกอบการอธิบายด้วยนะคะ สาเหตุและวิธีการแก้ไข นกใช้จักร GS3700P เพื่อยกตัวอย่างการตั้งค่าลายเย็บตกแต่งนะคะ โดยลายที่เลือกคือลาย ที่ 14 เป็นตัวหลัก โดยการตั้งค่าลายของจักรเย็บทุกรุ่นจะมีอยู่ในคู่มือ หัวข้อ “รูปแบบและชื่อเรียกตะเข็บ” ค่ะ 1. ปรับขนาดความถี่-ห่าง กว้าง-ยาว ของตะเข็บไม่เหมาะสม เริ่มแรกนกเลือกตะเข็บตกแต่งที่ 14 ตั้งค่าจักรตามรายการด้านล่าง ผลที่ออกมาคือลายเพี๊ยนค่ะ (ระหว่างคนกับลาย นกว่านกเพี๊ยนกว่า 5555+)– ปรับความตึงด้านไว้ที่ 4– ความกว้าง-ยาวตะเข็บ 2.5– ความถี่-ห่างตะเข็บ 3 คราวนี้ลองปรับใหม่ ลายที่ 14 ลายเดิม ความตึงด้ายเท่าเดิม แต่ความถี่-ห่าง ความกว้าง-ยาว ต่างกันผลปรากฏว่า สวยยย งามมม ตามเรื่องเล่าจร๊าาาาา ในคู่มือจักรจะบอกขนาดตะเข็บที่เหมาะสมให้ลายเย็บค่ะ สามารถดูในคู่มือประกอบได้เลยน๊าาา หัดทำบ่อยๆ รับรองเย็บออกมาแล้วสวยทุกลายค่ะ 2. ความตึงด้ายไม่เหมาะสม […]
วิธีแก้ปัญหาเย็บไม่ติด หรือ ด้ายกระโดด

อาการเย็บไม่ติด หรือฝีเข็มกระโดด เป็นอาการจักรที่เย็บออกมาแล้วฝีเข็มไม่สม่ำเสมอค่ะ โดยสามารถเป็นได้กับทุกๆ ลายเย็บ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเย็บผ้าไม่ติดหรือฝีเข็มกระโดด และการแก้ไข 1. ใส่เข็มจักรไม่ถูกต้อง เข็มสำหรับจักรเย็บผ้าไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือจักรกระเป๋าหิ้ว ที่หัวเข็มจะมีอยู่ 2 ด้าน คือด้านแบนและด้านกลม หากใส่ไม่ถูกจะทำให้เกิดอาการเย็บไม่ติดหรือด้ายกระโดดเสมอ แก้ไขได้ด้วยการใส่เข็มให้ถูกต้อง โดยให้ด้านแบนของหัวเข็มหันเข้าหาตัวจักร และด้านกลมของเข็มหันเข้าหาตัวผู้เย็บ 2. เข็มชำรุด เข็มชำรุดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งค่ะที่ทำให้เย็บผ้าไม่ติดหรือด้ายกระโดด ลองเช็คเข็มตามรูปดูนะคะ หากผิดปกติก็ให้เปลี่ยนเข็มจร้า 3. ใช้เข็มผิดประเภท หรือ ใช้เข็มผิดขนาด แก้ไขได้โดยเลือกใช้เข็มเย็บผ้าให้มีความเหมาะสมเนื้อผ้าและเลือกขนาดให้เหมาะสมกับความหนาของตะเข็บค่ะ ตัวหนังสืออาจจะเยอะนิดนึงน๊า แต่ประโยชน์มากมายมหาศาลจร้า เข็มเย็บผ้าธรรมดา – เข็มเย็บผ้าธรรมดาเบอร์ 60/8 เข็มเย็บผ้าขนาดเล็ก เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบาง เช่น ผ้าชีฟอง ผ้าแก้ว ผ้ามัสลิน ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก เช่น ด้ายโพลีเอสเตอร์ จะได้ตะเข็บที่สวยเนียน กลมกลืนไปกับเนื้อผ้าค่ะ – เข็มเย็บผ้าธรรมดาเบอร์ 70/9 เหมาะกับการเย็บผ้าเนื้อบาง เช่น ผ้าสำหรับตัดชุดเด็ก ผ้ามัสลิน ผ้าแพร ควรใช้คู่กับด้ายเส้นเล็ก เพื่อให้ได้ตะเข็บที่สวยงามค่ะ […]
วิธีแก้ปัญหาด้ายบนงอกด้านล่างจำนวนมาก

เย็บแล้วด้ายล่างงอก งอกเยอะมาก งอกยาวด้วย บางทีก็พันกันจนเย็บต่อไม่ได้ จะแก้ไขยังไงดีน๊า… วิธีแก้ไขคือการร้อยด้ายบน-ด้ายล่างใหม่ การร้อยด้ายบนจักร Brother ทุกรุ่นจะทำตามขั้นตอนคล้ายกัน จะต่างกันเฉพาะรุ่นที่ไม่มีที่สนเข็มให้ คือ JV1400 ลูกค้าต้องสนเข็มเองค่ะ หากร้อยด้ายบนไม่ผ่านตัวปรับความตึงด้ายมักจะทำให้เกิดด้ายงอกด้ายฟู (ตามรูปด้านบน) เสมอ ดูคลิปวิธีการร้อยด้ายบนที่ถูกต้องได้เลยนะคะ https://youtu.be/Ug8Vh8hBHfw Share on facebook Facebook Share on google Google+ Share on twitter Twitter Share on linkedin LinkedIn
วิธีแก้ไขปัญหาด้ายบนงอกด้านล่าง

เวลาเย็บแล้วเกิดด้ายบนไปงอกเล็กๆ ที่ด้านล่าง สาเหตุหลักๆ เลยคือความตึงด้ายที่น้อยเกินไป ทำให้ด้ายล่างตึงกว่าด้ายบน (ความตึงด้ายล่างด้ายบนไม่เท่ากัน) จึงทำให้ด้ายที่มีความตึงน้อยกว่าไปงอกอีกฝั่ง สามารถแก้ไขได้โดยค่อยๆ ปรับความตึงด้ายเพิ่มแล้วทดลองเย็บด้วยเนื้อผ้าเดียวกันกับชิ้นงานจริงจนกว่าจะได้ตะเข็บที่สวยงามค่ะ ปล. เนื้อผ้าแต่ละชนิดแต่ละความหนา จะใช้ความตึงด้ายที่แตกต่างกัน ต้องนำเนื้อผ้าที่จะเย็บจริงมาลองเย็บหาความตึงด้ายที่เหมาะสมนะคะ อีกสาเหตุนึงที่ด้ายมักจะลอกเล็กๆ ที่ด้านล่างคือการใส่ด้ายกระสวยผิดด้าน ต้องใส่ใหม่ให้ถูกนะคะ ดูคลิปได้นะคะ ปล. อีกที จักรสาธิตเป็นรุ่น JV1400 แต่รุ่นอื่นๆ ก็ใช้วิธีการแก้ไปปัญหาเหมือนกันได้ค่ะ https://youtu.be/G50jTXPCllg Share on facebook Facebook Share on google Google+ Share on twitter Twitter Share on linkedin LinkedIn
การร้อยด้ายจักรเย็บผ้า Brother

ร้อยด้ายจักรให้ถูกต้องมีชัยไปกว่าครึ่ง ช่วยลดปัญหาด้ายงอกด้ายฟู ด้ายพันกันด้านล่าง ซึ่งจักรแต่ละรุ่นการร้อยด้ายคล้ายๆ กัน จะต่างกันที่วิธีการสนเข็ม อาทิ จักรรุ่น JV1400 จะไม่มีที่สนเข็มให้ ต้องสนเองค่ะ แต่สำหรับรุ่น GS2700 GS3700P ขึ้นไปจนถึงระบบคอมพิวเตอร์จะมีที่สนเข็มให้ ขั้นตอนการทำก็คล้ายกันทุกประการ กดดูที่คลิปได้เลยนะคะ ***รุ่นสาธิต GS3700P*** https://youtu.be/Ug8Vh8hBHfw Share on facebook Facebook Share on google Google+ Share on twitter Twitter Share on linkedin LinkedIn